วันพฤหัสบดีที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552

การนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์

การนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์



การนำบริษัทหรือหุ้นเข้าตลาดหลักทรัพย์หรือตลาดหุ้น สามารถแบ่งขั้นตอนง่าย ๆ ดังนี้คือ



ขั้นตอน 1 การจัดเตรียมความพร้อมและแผนธุรกิจ (Businss Model Preparation)
- แต่งตั้งที่ปรึกษาทางการเงิน (Financial Advisor / FA)

ขั้นตอน 2 การตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูล (Due Diligence & Valuation)
- ตรวจสอบข้อมูลและจัดแผน เฃ่น ดูภาวะอุตสาหกรรม ภาวะธุรกิจ

ขั้นตอน 3 การเตรียมขออนุญาตเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน (IPO / List Preparation)
- แปรสภาพเป็น บมจ. เพื่อให้เป็นบริษัทมหาชน จากนั้น ยื่นขออนุญาตจาก กลต. (SEC) ต่อมา ก็ดำเนินการกระจายหุ้นสู่ประชาชน แล้วจึงนำหุ้นเข้าจดทะเบียนยื่นต่อ ตลท. (SET) และดำเนินการซื้อขายหุ้นในเวลาต่อมา

ผลดีและผลเสียต่อผู้ถือหุ้น

ด้านเจ้าของ
ขั้นตอนยุ่งยาก คุมราคาหุ้นไม่ได้ สูญเสียอำนาจบริหาร ควบคุมกิจการ ไม่คล่องตัว ขาดอิสระในการบริหารกิจการ

ด้านผู้ถือหุ้น
เพิ่มมูลค่าเงินลงทุน สร้างสภาพคล่องให้กับตลาดฯ ประโยชน์ทางภาษีบุคคลธรรมดา สะดวกในการโอนทรัพย์สินในทายาท

ด้านบริษัท
มีแหล่งเงินทุนระยะยาว สร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อธุรกิจ กู้ยืมเงินได้ง่าย ขยายฐานลูกค้าได้ สร้างความมั่นคงให้กับองค์กรในระยะยาวได้

โดยสรุป ขั้นตอนการนำหุ้นเข้าตลาดฯ ไม่ยุ่งยาก และน่าสนใจ ผู้ที่มีกิจการสนใจนำกิจการเข้าสู่ธุรกิจเต็มรูปแบบ สามารถติดต่อได้กับ บริษัทหลักทรัพย์ (Securities Company) และหรือ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

หมายเหตุ ดูรายละเอียดได้ใน WWW.SET.OR.TH หรือ บริษัทสมาชิกตลาดหลักทรัพย์

1 ความคิดเห็น:

  1. แนะนำปรึกษาทางโทรศัพท์ฟรี การนำบริษัทเข้าตลาด
    080-609-1635
    หรือ www.infoassoc.com
    หรือ infoasso@infoassoc.com

    ตอบลบ